ความหมายและประวัติของอินเตอร์เน็ต
ความหมายของอินเทอร์เน็ต ( Internet )
คือ
เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย
ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission
Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้
นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้
โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ
WAN
แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ
เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง
และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน
แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ
เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง
ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้
จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ


ประวัติของอินเตอร์เน็ต
ประวัติของอินเตอร์เน็ต
คือช่วงต้นปีคริสต์ศตวรรษ 1960 (ประมาณปี 2503)
ซึ่ง เป็นยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียต
มีความเสี่ยงทางการทหารและความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีด้วยอาวุธปรมาณูหรือ
นิวเคลียร์ การทำลายล้างศูนย์คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารจ้อมูล
อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบและในช่วงนี้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสาร ข้อมูล
อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ
จึงมีแนวคิดในการวิจัยระบบที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และแลก
เปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้
อินเทอร์เน็ตจึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า U.S. Defense Department
คิดขึ้นเพื่อให้มีระบบเครือข่ายสื่อสารที่ไม่มีวันตาย
แม้จะถูกโจมตีจากสงคราม เรียกเครือข่ายนี้ว่า ARPAnet (Advances Research
Project Agency Network) จุดเริ่มของ ARPAnet ได้ทำการทดลองเชื่อมคอมพิวเตอร์จาก
4 แห่ง โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย (UCLA)
กับสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (SRI) ทั้งสองแห่งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
และเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยซานตาบาร์บารา (UCSB)
ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูทาห์ (UTAH) ความสำเร็จของเครือข่ายทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา
นำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Mail : E-Mail)รับส่งข่าวสาร แฟ้มเอกสารต่าง ๆ ในงานวิจัยทางวิชาการ
ปี พ.ศ.2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ บริษัท ห้างร้าน องค์กรเอกชนต่าง ๆ
เริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ
มีการซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-Commerce) จนเกิดกระแสนความนิยมในธุรกิจดอทคอมมากขึ้น
จนกระทั่งปี พ.ศ.2528
(ค.ศ.1985) ระบบอินเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์พร้อมรองรับการใช้งานด้านการสื่อสารแพร่ขยายในวงกว้าง
โดยเฉพาะการใช้งาน E-Mail, Chat, Telnet, FTP, Gopher, Finger ฯลฯ
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ในประเทศไทยเริ่มใช้งานครั้งแรกใน
ปี พ.ศ.2532
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ)
กับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเพื่อการรับส่งอีเมล และปี พ.ศ.2535 ได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างถาวร โดยมีจุดเชื่อมต่อ Gateway
2 แห่ง คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อินเทอร์เน็ต
เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2535
และในปี 2538 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
ร่วมมือกับเอกชนรายแรกโดยใช้ชื่อว่า อินเทอร์เน็ตเคเอสซี (KSC) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ เรียกโดยย่อว่า ISP
(Internet Service Provider)
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
ข้อมูลและบริการต่างๆ
ในอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากมายและหลายหลากประเภท
ทำให้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับงานในด้านต่างๆ มากมาย จึงขอยก
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตพอสังเขป ดังนี้
1.ด้านการศึกษา
อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว
มีแหล่งข้อมูลความรู้จำนวนมหาศาลที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลความรู้
ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และอื่นๆ ทำให้นักเรียน ครูอาจารย์
รวมถึงผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า
หรือการทำงานได้
ในส่วนระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้อินเทอร์เน็ต
ก็ทำให้ผู้เรียนหรือผู้สอนที่อยู่ห่างไกลกัน ไม่จำเป็นต้องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสถานที่เดียวกัน
ผู้สอนและผู้เรียน สามารถอยู่คนละสถานที่ ก็ยังสามารถทำการเรียนการสอนได้ เช่น
การเรียนการสอนผ่านเวบ หรือ E-Learning เป็นอีกหนึ่งกระแสของการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังมาแรงในปัจจุบันนี้,
ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่ได้รับความสำคัญมากในปัจจุบัน
โดยได้มีการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
มีเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ มากมายสำหรับนักเรียนและอาจารย์ใช้ในการเรียนการสอน
2.ธุรกิจการค้า
ปัจจุบันมีการให้บริการ
โฆษณาสินค้าบริการและการซื้อขายสินค้าบริการต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า E-Commerce ซึ่งระบบนี้ผู้ซื้อสามารถเลือกดูสินค้า
ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ แล้วทำการสั่งซื้อ
พร้อมทั้งชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยหักจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตได้ทันที
นอกจากนี้ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ก็สามารถเปิดให้บริการแก่ลูกค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
เช่น การตอบคำถาม ให้คำแนะนำ และประกาศข่าวสารใหม่ๆ
หรือกรณีที่เป็นสินค้าเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ก็อาจแจกจ่ายโปรแกรมให้ทดลองใช้
หรือให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ (patch) แม้กระทั่งซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ได้โดยตรงอีกด้วย
3.การเงินการธนาคาร
ธนาคารบนอินเทอร์เน็ต
(Internet
Banking) หมายถึง ธนาคารที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในบางธนาคารก็มีบริการที่มีชื่อคล้ายคลึงกันแต่ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือ
ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Banking หรือ E-Banking
ซึ่งหมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
โดยสื่อที่นิยมใช้ได้แก่อินเทอร์เน็ต
จะเห็นได้ว่าบริการทั้งสองรูปแบบต่างก็มีการให้บริการต่างๆ ของธนาคารที่เหมือนกัน
ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบยอดบัญชี การโอนเงิน การสั่งชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
สำหรับการระบบชำระเงินค่าสินค้าและบริการแบบออนไลน์
ก็อีกบริการซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแส ความแรงของการทำ E-Commerce
ทั่วโลก ที่มีความต้องการองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือ อันได้แก่ธนาคาร
เข้าไปมีบทบาทในเรื่องของการชำระเงินแบบออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
ด้วยระบบนี้ทำให้ลูกค้าเกิดความสะดวกและรวดเร็วในการใช้บริการเป็นอย่างมาก
4.ความบันเทิง
สิ่งที่ดึงดูดใจแก่ผู้งานอินเทอร์เน็ตทุกเพศ
ทุกวัย มากที่สุด ก็คือ ความสาระบันเทิงที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เช่น การอ่านข่าวสารจากวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ
นอกจากนี้ยังสามารถชมตัวอย่างภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้อีกด้วย
การค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการต่างๆ
ก็ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้เช่นกัน
รวมทั้งการสนทนาพูดคุยระหว่างผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางเวบบอร์ดต่างๆ
ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ได้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก
เว็บเบราว์เซอร์ (web
browser)
เบราว์เซอร์
หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ
เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิสหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น
ๆ
โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ
เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์
เว็บเบราว์เซอร์มีอะไรบ้าง
1.Firefox
2.Opera
3.Safari
4.Crazy
Browser
5.Maxthon
Browser
6. Google
chrome
7. Internet
Explorer
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันการสืบค้นข้อมูลมีความจำเป็นต้องใช้ระบบอินเทอร์เน็ตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยการสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงสารสนเทศต่าง ๆ
ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก
โดยผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
ในการเรียกดูข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่องานด้านต่าง ๆ
อย่างมากมาย
ประโยชน์ของ Web
Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้
อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ
ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น
ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web
browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css
เพื่อความสวยงามของหน้า web page
รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web
browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
Internet Explorer
Mozilla Firefox
Google
Chrome
Safari
ฯลฯ
Search Engine กับการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล
การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ
จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search
Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างชาติ
ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา
และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา
Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ
เอาไว้ โดยอาจจัดแยกเป็นหมวดหมู่
ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน
คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น
รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
การค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์ทั่วไปมี 2 แบบ
1. การค้นหาในรูปแบบ Index
Directory
2. การค้นหาในรูปแบบ Search
Engine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น